Blog 4 STEP สู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญ |เรียนรู้การฟังที่ดีด้วย Theory U

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2020

ความรู้และการแบ่งปัน
4 STEP สู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญ |เรียนรู้การฟังที่ดีด้วย Theory Uのメイン画像

4 STEP สู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญ |เรียนรู้การฟังที่ดีด้วย Theory U

รู้ไหมว่า “ความไม่รู้ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่” เพราะหากเราเข้าใจในคุณสมบัติตนเองอย่างถ่องแท้ว่า ยังขาดความรู้แท้จริงในสิ่งๆ นั้น แต่กลับมีความพยายามเข้ามาทดแทน เช่น อ่านหนังสือ ค้นหาจากอินเตอร์เน็ต หรือพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะคติกับคนอื่น สิ่งนี้เองเป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาความรู้รูปแบบหนึ่ง ที่สามารถปรับเปลี่ยนจากการเป็นแค่ผู้ที่ไม่รู้อะไรเลย มาเป็นผู้รู้ และกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในอนาคตได้ในที่สุด

– 4 STEP สู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญ –

1 STEP – “ไม่รู้ ในสิ่งไม่รู้” หมายถึงสภาพของเราตอนที่ยังไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยสักอย่าง แถมยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเอง อยากจะเรียนรู้อะไร

2 STEP – “รู้ ในสิ่งไม่รู้” ก้าวแรกของการอยากเรียนรู้ ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากแรงกระตุ้นปัจจัยภายนอก

3 STEP – “รู้ ในเรื่องที่รู้” หลังจากได้พยายามศึกษา หรือหาข้อมูลแล้ว จะทำให้เราเข้าใจกับสิ่งที่พยายามศึกษามาอย่างถ่องแท้

4 STEP – “ไม่รู้ ในสิ่งที่รู้” เมื่อเกิดความเชี่ยวชาญในสิ่งที่เรียนรู้มาแล้ว สมองจะเกิดภาวะว่างเปล่าในช่วงปกติ แต่เมื่อต้องนึกถึงสิ่งที่ศึกษามา สมองจะถูกขับเคลื่อนความรู้สึกนึกคิดออกมาอย่างอัตโนมัติ

ยกตัวอย่างการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ถ้าหากเราถามคำถามไปตรง ๆ ว่า ทำไมถึงมีความรู้ละเอียดขนาดนี้ ? เชื่อได้เลยว่าคำตอบที่กลับมาจะเป็น “ก็ไม่ได้รู้อะไรเป็นพิเศษนะ” อย่างแน่นอน ซึ่งสาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบนั้น เป็นเพราะว่าพวกเขาเหล่านั้นต่างเป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับที่ 4 คือ “ไม่รู้ ในสิ่งที่รู้”

เชื่อว่าหลายคนคงเคยประสบกับปัญหา หรือคิดว่าตนเองเข้าใจในสิ่งที่ตนเองคิดจริง ๆ (แต่ก็ยังไม่เข้าใจอย่างแท้จริง) ทำให้ปิดโอกาสการเรียนรู้ในทันที จากเหตุการณ์นี้ คุณโชอิจิ วาตานาเบะ (นักวิชาการ) ได้อธิบายไว้ว่า “หากเรายังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงกระดูก นั่นแปลว่าเรายังไม่เข้าใจ” หรือคุณเซ็นโรกุ อุเอฮาระ (อาจารย์) เคยกล่าวคำสอนไว้ว่า “ถ้าเราเข้าใจอะไรบางอย่าง สิ่งนั้นจะทำให้เราเปลี่ยนไป” จากใจผู้เขียนเอง คำสอนนี้ช่างเต็มไปด้วยความลึกซึ้งทางปรัชญาแฝงอย่างแท้จริง

การคอยตระหนักถึงความสำคัญของการรู้แจ้งและเข้าใจอยู่เสมอนั้น จะทำให้เราเป็นคนที่ไม่ด่วนสรุปจนเกินไปนัก หลายคนมักจะเลือกใช้คำพูดติดปากว่า “สรุปว่า…ใช่ไหม” แต่คำพูดนี้ ก็เหมือนกับดาบสองคม เพราะคำว่าสรุป หมายถึงการจับใจความประโยคให้สั้นที่สุด ถ้าเป็นคนที่ขาดทักษะการสื่อสารที่ดี “บทสรุป” นั้น อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้

ส่วนสาเหตุที่หลายคนชอบรีบถามหาบทสรุป เพื่อลดระยะเวลาบทสนทนานั้น เป็นเพราะว่า ก่อนการสนทนาคนส่วนใหญ่จะชอบจำลองภาพในสมองแบบไม่รู้ตัว ทั้งสร้างเรื่องราวไว้ล่วงหน้า (สิ่งนี้ในทางจิตวิทยาเรียกว่า Mental Model)และการถามหาบทสรุปนั้น เปรียบเสมือนสิ่งย้ำเตือนในสิ่งที่กำลังคิดอยู่นั่นเอง ซึ่งด็อกเตอร์ อ็อตโต้ ชาเมอร์ (Dr. C.Otto Scharmer) ผู้คิดค้นทฤษฎีตัวยู (Theory U) ได้แบ่งระดับการฟังไว้ 4 LEVELS ดังนี้

– 4 LEVELS ของการฟัง –

LEVEL 1 – Dowloading ระดับการฟังแบบใช้ความคิดหรือประสบการณ์ของตนเองที่มีอยู่มาตัดสินใจ และตอบกลับหรือสรุปทันทีโดยไม่สนว่าถูกหรือผิด

LEVEL 2 – Factual ระดับการฟังแบบอ้างอิงจากประสบการณ์ตนเองไปด้วยและพยายามเป็นกลางไปด้วย แต่ยังไม่ถึงขั้นรับฟังอย่างเต็มที่

LEVEL 3 – Empathetic ระดับการฟังแบบตั้งใจฟังโดยไม่ตัดสิน พยายามมองให้นอกกรอบความคิดตนเอง พร้อมที่จะกลมกลืนไปกับคนอื่นอย่างเป็นธรรมชาติ

LEVEL 4 – Generative ระดับการฟังที่ลึกที่สุด เปิดใจฟังเหมือนตนเองเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว เมื่อฟังเสร็จพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนหรือเชื่อมโยงกับข้อมูลของตนเอง ซึ่งอาจนำไปสู่การเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ

การฟังหรือการสื่อสารแบบด่วนหาข้อสรุป ถือเป็นการฟังแค่ในระดับ LEVEL 1 (Dowloading) ที่ไม่เปิดโอกาสให้ตนเองได้เรียนรู้สิ่งที่อยู่นอกเหนือกรอบความคิด ควรพูดคุยกันให้มาก รับฟังซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้สิ่งใหม่ การเป็นคนเข้าใจหรือเรียนรู้อะไรง่ายๆ คงจะมีประโยชน์อย่างยิ่งหากเพียงต้องการเสริมความรู้ที่มีอยู่แล้ว แต่ถ้าอยากเติบโตและพัฒนา จงทำตัวให้เป็นคนที่เข้าใจยากบ้างในบางเรื่องจะดีกว่า

ข้อมูลจากหนังสือ 武器になる哲学

mirai campusの画像
ผู้เขียน mirai campus

ทีมงาน mirai campus

Related Blog บทความที่เกี่ยวข้อง | Related Blog

mirai Newsletter

จดหมายข่าว mirai campus ส่งมอบข่าวสารที่เป็นประโยชน์ถึงท่านทุกเดือน ทั้งบทความ หลักสูตรสัมมนาและฝึกอบรมที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจของท่าน กรุณากรอกข้อมูลของท่านในแบบฟอร์มทางด้านขวาเพื่อยืนยันรับข้อมูล