Blog เข้าใจคนอย่างไร ให้ได้งาน

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2020

ความรู้และการแบ่งปัน
เข้าใจคนอย่างไร ให้ได้งานのメイン画像

LEARNING ROOM – อ.จุลชัย จุลเจือ

บริหารบุคคลเป็นทักษะการใช้ศาสตร์และศิลป์ผสมผสาน เพื่อเจรจาต่อรองและหาจุดร่วมทางแนวคิด-ทัศนคติ แต่การจะบริหารบุคคลให้ประสบความสำเร็จได้ จำเป็นที่จะต้องทราบถึงจุดอ่อน หรือข้อด้อยข้อเสียของอีกฝ่ายก่อน

เข้าใจบุคคล

งานยาก หากลูกน้องของท่านบ่นว่างานที่ทำอยู่มันยาก ทำอย่างไรก็ไม่เข้าใจ ปัญหานี้แก้ไขได้ที่ตัวบุคคลครับ เพราะอะไรที่เราไม่รู้ย่อมยากเสมอ ดังนั้น ผู้บริหารหรือหัวหน้างานที่ดี จะต้องพยายามถ่ายทอดความรู้-ประสบการณ์ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมฝึกฝนทักษะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายอาชีพ เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานสู่ความสำเร็จ

ปริมาณงานจำนวนมาก ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า หากปริมาณงานที่เรารับผิดชอบมีจำนวนเพิ่มขึ้น นั่นคือเรากำลังเริ่มมั่นคงในหน้าที่การงาน เนื่องจากผู้ใหญ่ให้ความไว้วางใจ กลับกัน หากงานลดลงแต่รับเงินเดือนเท่าเดิม นั่นคือสัญญาณบ่งบอกว่าเรากำลังทำงานไม่คุ้มกับค่าจ้าง ซึ่งอาจจะส่งผลเสียได้ในอนาคต ส่วนวิธีแก้ไขเมื่องานมีปริมาณมากขึ้น เราสามารถทำได้ด้วยการกระจายงานภายในทีมอย่างเป็นระบบ

เข้าใจถึงลักษณะการปรับเปลี่ยน – CHANGE SILO to Co-Working

“ไซโล สิ่งปลูกสร้างเดี่ยว ทรงกรวย สร้างจากไม้หรือคอนกรีต ใช้สำหรับเก็บผลผลิตทางการเกษตรและอาหารสัตว์”

ยกตัวอย่างองค์กรหนึ่ง มีพนักงานกว่าสองพันคน โดยแต่ละปีจะมี Training Roadmap ไว้จัดฝึกอบรมพนักงาน แต่องค์กรนี้กลับเพิ่มงบประมาณขึ้น ด้วยการให้เงินก้อนสำหรับแต่ละทีมไว้ เพื่อให้พนักงานนำไปสร้างกิจกรรมร่วมกัน โดยยึดหลักแนวคิดที่ว่า “เปลี่ยนการทำงานแบบไซโลให้เป็นโค-เวิร์คกิ้ง” หมายถึงการสร้างปฎิสัมพันธ์เชิงเครือข่าย โดยนำเอาความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล (เปรียบเสมือน 1 ไซโล) มาประสานกัน พร้อมสร้างโปรเซสการทำงานอย่างเป็นระบบ-ระเบียบ แบบแผนชัดเจน ส่งผลให้องค์กรแห่งนี้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่ของผลประกอบการณ์ กำไร และภาพลักษณ์ทางสังคม



เข้าใจเจ้านาย

คราวนี้เรามาดูกันครับว่าแท้จริงแล้วคนประเภทไหนในองค์กรที่เจ้านายจะรักและชื่นชอบเป็นพิเศษ ขอเริ่มจากคนเก่งก่อน คนเก่งในที่นี้เป็นคนที่ IQ สูง หัวไว ทำงานเก่ง จัดการงานได้อย่างรวดเร็ว แต่เชื่อไหมว่าหากคนเก่งเริ่มขี้เกียจเมื่อไหร่ คนเก่งจะแพ้ทางให้กับคนขยันทันที เนื่องจากคนขยัน จะมีความอดทน-มุ่งมั่นสูง แต่สุดท้ายคนขยันก็จะแพ้ทางให้กับคนมีวินัย คนมีวินัยในที่นี้ก็คือ คนที่รับปากสิ่งใดแล้วสามารถทำได้สำเร็จ เช่น รับปากส่งงานเจ้านายบ่าย 2 ก็เสร็จส่งทันเวลา โดยที่งานนั้นไม่ใช่การทำเสร็จพอเป็นพิธี หากแต่เป็นงานที่สมบูรณ์แบบพร้อมใช้ ทั้งนี้ หากใครเป็นคนที่มีทั้ง 3 สิ่ง เก่ง ขยัน วินัย ในตัวคนเดียว เชื่อว่าคน ๆ นั้น จะสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอย่างแน่นอน

เข้าใจถึงลักษณะการทำงานของคนแต่ละเจเนอเรชั่น

เบบี้บูมเมอร์ (อายุ 50 ปีขึ้นไป) ลักษณะการทำงานของคนวัยนี้ จะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการสั่งการและติดต่อสื่อสารเชิงบุคคล-บุคคล เนื่องจากมีประสบการณ์สูง รู้จักผู้คนหลากหลาย ภาพลักษณ์น่ายำเกรง ชอบการให้เกียรติทั้งต่อหน้าและลับหลัง แต่จุดอ่อนคือ ขาดความคล่องแคล่วด้านการใช้เครื่องมือสื่อสาร ทั้งไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่การงาน เพราะจะรู้สึกไม่ปลอดภัย ส่งผลให้เกิดความวิตกจริตได้ง่าย

เจเนอเรชั่น X (อายุ 36-50 ปี) มีความมั่นใจสูง ชอบมีปฎิสัมพันธ์สื่อสารกับคนลักษณะมืออาชีพ เช่น หากถามงานลูกน้อง ลูกน้องจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่าที่มาของสิ่งนั้นคืออะไร วัตถุประสงค์เพื่ออะไร และสรุปต่อไปเป็นอย่างไร (ชอบคนรู้หลักการคิดเป็นระบบ) แต่ข้อเสียของเจเนอเรชั่นนี้คือ เสียหน้าไม่ได้ ภาพลักษณ์เป็นเรื่องสำคัญ หากคุณมีลูกน้องเป็นเจเนอเรชั่น X หากเขาทำผิดพลาด คุณควรมีศิลปะในการพูดตักเตือน เช่น ชมก่อนแล้วค่อยตำหนิตามหลัง จะทำให้เขายอมรับปรับปรุงได้ง่ายขึ้น

เจเนอเรชั่น Y (อายุ 25-35 ปี) ชอบการเปลี่ยนแปลง มีความคิดสร้างสรรค์ นำเสนอสิ่งแปลกใหม่ มีความเป็นตนเองสูง แต่ข้อเสียคือ ขาดความอดทน ชอบพูดมากกว่ารับฟัง ถ้าคุณมีลูกน้องเป็นเจเนอเรชั่น Y เวลาพวกเขาเสนอแนวคิด คุณห้ามปฎิเสธเด็ดขาด แต่ควรรับฟังและเก็บมาพิจารณา เพราะถ้าคุณปฎิเสธทันที เด็กเจนนี้จะคิดว่าคุณกำลังตำหนิ ทำให้ไม่กล้าจะนำเสนออะไรอีกต่อไป

จเนอเรชั่น Z (อายุต่ำกว่า 25 ปี) ข้อดีคือ มีความคล่องแคล่วด้านการใช้เทคโนโลยีสื่อสาร เรียนรู้ไว ภาษาอังกฤษได้ แต่อาจจะมีความเป็นตนเองสูงมาก ส่งผลให้ขาดวิธีสร้างปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (ต่างวัย) ได้ดี ทั้งขาดประสบการณ์ในการทำงาน เนื่องจากพึ่งเรียนจบใหม่


แรงจูงใจที่ทำให้พนักงานไม่ลาออก

สาเหตุที่ทำให้คนลาออกจากงานส่วนใหญ่ ล้วนมาจากหัวหน้างานกว่า 60-70 เปอร์เซ็นต์ และลดหลั่นลงไปเรื่อย ด้วยสาเหตุจากโครงสร้างองค์กร 20-30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อนร่วมงานอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ วิธีที่เราจะใช้พิจารณาว่า พนักงานคนนั้นจะสามารถทำงานอยู่กับเราต่อได้หรือไม่ อาจจะต้องพิจารณาจาก 3 หัวข้อหลัก ดังนี้

ทำงานด้วยแรงจูงใจ เงินเดือนไม่ใช่เป้าหมายสำคัญ แต่สิ่งสำคัญคือ สภาพแวดล้อมที่ดี อุปกรณ์ทันสมัย ยูนิฟอร์มสวย เพื่อนร่วมงานอัธยาศัยดี สถานที่ทำงานสะอาด

อุดมการณ์และความใฝ่ฝัน เน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก เช่น หัวหน้างานน่ารัก ไม่ตำหนิเวลาทำผิดพลาด ชอบแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ แต่ข้อเสียคือ ถ้าหัวหน้างานคนนี้ลาออก ลูกน้องก็จะลาออกตาม

ความผูกพันธ์ต่อองค์กร หากพนักงานเกิดความผูกพันธ์ จะทำให้การทำงานเกิดความผิดพลาดต่ำ ทั้งมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ปัจจุบันหลากหลายองค์กร ได้ใช้วิธีนำซีอีโอหรือผู้บริหาร มาพบปะพูดคุยกับพนักงานตัวต่อตัว เพื่อสร้างปฎิสัมพันธ์และรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมแก้ไขปัญหาทันที เสมือนซื้อใจพนักงาน “วิธีพิจารณา หากพนักงานมีคำตอบตรงกับ 2 ใน 3 ข้อนี้ พนักงานคนนั้น ก็จะไม่ลาออกไปไหนอย่างแน่นอน”

mirai campusの画像
ผู้เขียน mirai campus

ทีมงาน mirai campus

Related Blog บทความที่เกี่ยวข้อง | Related Blog

mirai Newsletter

จดหมายข่าว mirai campus ส่งมอบข่าวสารที่เป็นประโยชน์ถึงท่านทุกเดือน ทั้งบทความ หลักสูตรสัมมนาและฝึกอบรมที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจของท่าน กรุณากรอกข้อมูลของท่านในแบบฟอร์มทางด้านขวาเพื่อยืนยันรับข้อมูล