Blog ทักษะการคิดเชิงตรรกะและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2020

ความรู้และการแบ่งปัน
ทักษะการคิดเชิงตรรกะและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพのメイン画像

LEARNING ROOM – อ.ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์

ปัญหาส่วนใหญ่ของการทำงาน มักเกิดขึ้นจากขั้นตอนสื่อสารที่ผิดพลาดระหว่างมนุษย์ ส่งผลให้วิธีประมวลความคิด ทัศนคติ การแสดงออก ถูกแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ (ดี-ร้าย) แล้วทักษะการคิดเชิงตรรกะ จะมาช่วยลดข้อผิดพลาด ทั้งช่วยเสริมสมรรถนะการทำงานได้อย่างไร วันนี้เรามาหาคำตอบกัน

ก่อนเข้าสู่ขั้นตอน “ฝึกคิดเชิงตรรกะ” เราต้องทำความเข้าใจกับชุดความคิด (MIND SET) อย่างถี่ถ้วนก่อนว่า แท้จริงแล้ว เรากำลัง เป็น-อยู่ ในลักษณะใด เพื่อสร้างการตอบสนอง (RESPONSE) ไปในทางที่ถูกต้อง

FIXED MIND SET ย้ำคิดย้ำทำ ทำดีแล้ว มีความสามารถเท่านี้ มาได้แค่นี้ สิ่งที่ทำคือดีที่สุด

GROWTH MIND SET พยายามมองหาหนทางอื่น ๆ สิ่งที่ทำยังไม่ดีพอ ยังสามารถพัฒนาไปได้อีก

หากท่านใดลองวิเคราะห์แล้วว่าตนเองเป็นประเภท FIXED MIND SET อยากให้ลองปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ โดยพยายามจำลองบทบาทในลักษณะของ GROWTH MIND SET ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้


มองหาเหตุผล-วิเคราะห์เชิงตรรกะ (Logical Thinking)

ปัจจุบัน หลายคนนิยมแก้ปัญหาแบบ PROBLEM SOLVING คือการเอาปัญหาเป็นตัวตั้งและยึดติดกับการแก้ไขสถานการณ์สิ่งนั้นสิ่งเดียว กลับกัน การแก้ปัญหาเชิงตรรกะ จะมุ่งเน้นถึงประสิทธิผลอย่างครอบคลุม ครบถ้วน รอบด้าน คล้ายหลักการสังเกตุของนกจากที่สูง เพื่อสร้างสถานการณ์จำลองและค้นหาวิธีไปสู่จุดหมายภายในระยะเวลาอันสั้น

ซึ่งไม่ต่างจากการเล่นกีฬากอล์ฟ นักกอล์ฟสมัครเล่นเมื่อลงสู่สนาม จะตีลูกในทันที โดยไม่สนใจว่าลักษณะของพื้นสนามเป็นอย่างไร มีจำนวนหลุมทรายกี่จุด ลมมาจากทิศทางไหน ระดับความชันของเนินหญ้าสูงต่ำเพียงใด นักกอล์ฟสมัครเล่นจะคิดแค่เพียงต้องตีลูกให้ลงหลุมเร็วที่สุดเท่านั้น แต่นักกอล์ฟมืออาชีพ พวกเขาจะให้ความสำคัญกับทุกบริบท ทั้งใส่ใจและพยายามจำลองสถานการณ์ในสมองก่อนตีลูกทุกครั้ง เพื่อสร้างทางเลือกใหม่และมองหา “ความเป็นไปได้” ที่ทรงประสิทธิภาพและผลลัพธ์อันยอดเยี่ยม

คิดนอกกรอบในสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ (Lateral Thinking)

เมื่อเข้าใจถึงหลักการคิดเชิงตรรกะ สิ่งที่จะช่วยเสริมศักยภาพของ GROWTH MIND SET ให้เติบโตขึ้น คือการพยายามฝึกคิดนอกกรอบอย่างสม่ำเสมอ โดยมีหลักการและวิธีคือ เราจะต้องมองเห็นภาพรวมทั้งหมดของปัญหาก่อน ทั้งรับทราบถึงความต้องการที่แท้จริง จากนั้น เริ่มจำลองสถานการณ์-บทบาท ภายในสมอง โดยไม่ยึดติดกับความคิดทั่วไป ไม่ยึดติดกับกฎธรรมเนียมปฎิบัติสืบต่อกันมา คิดในสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ เพื่อหาเส้นทางไปสู่ผลลัพธ์อันรวดเร็ว (การคิดนอกกรอบ ไม่มีกฎข้อบังคับตายตัว ไม่มีถูก-ผิดตลอดการตัดสินใจ)

หากใช้วิธีคิดเชิงตรรกะผสานกับวิธีคิดแบบนอกกรอบ จะช่วยสร้าง RESPONSE ที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขสถานการณ์-ปัญหา

EVENT + RESPONSE = OUTPUT [HighQuality]

นอกจากสร้าง RESPONSE แล้ว การยอมรับสิ่งผิดพลาด เพื่อพัฒนาปรับปรุง (Fail-Fast) ก็เป็นอีกหนึ่งกลวิธีที่ช่วยให้การทำงานสามารถพัฒนาประสิทธิภาพได้ แต่การยอมรับนั้น หาใช่การยอมรับถึงความล้มเหลว แต่เป็นการยอมรับต่อสิ่งที่ถูกแก้ไข (ไม่ได้ผล) อยากให้มองว่า Fail-Fast อาจไม่ใช่แนวทางการทำงานที่สมบูรณ์แบบ เพียงแต่เราควรยอมรับสิ่งเหล่านั้น เพื่อนำมาพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข และต่อยอดสืบไป

mirai campusの画像
ผู้เขียน mirai campus

ทีมงาน mirai campus

Related Blog บทความที่เกี่ยวข้อง | Related Blog

mirai Newsletter

จดหมายข่าว mirai campus ส่งมอบข่าวสารที่เป็นประโยชน์ถึงท่านทุกเดือน ทั้งบทความ หลักสูตรสัมมนาและฝึกอบรมที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจของท่าน กรุณากรอกข้อมูลของท่านในแบบฟอร์มทางด้านขวาเพื่อยืนยันรับข้อมูล